หลักฐาน ของ การทดแทนคุณลักษณะ (จิตวิทยา)

ดร. คาฮ์นะมันกล่าวว่า[5] หลักฐานสนับสนุนทฤษฎีการทดแทนคุณลักษณะที่ตรงประเด็นที่สุดก็คือการทดลองในปี ค.ศ. 1973 ที่แสดงลักษณะต่าง ๆ ทางจิตวิทยาของทอม ผู้เป็นนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาสมมุติ[10] มีการให้ผู้ร่วมการทดลองกลุ่มหนึ่งให้คะแนน "ความคล้ายคลึง" ของทอมกับนักศึกษาทั่ว ๆ ไปในสาขา 9 สาขา (รวมทั้งนิติศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และบรรณารักษศาสตร์)มีการให้อีกลุ่มหนึ่งให้คะแนนว่า "มีความเป็นไปได้เท่าไร" ที่ทอมจะเข้ารับการศึกษาในแต่ละสาขาถ้าการให้ค่าความเป็นไปได้เป็นไปตามกฎความน่าจะเป็น คะแนนที่ให้ก็ควรจะคล้ายกับอัตราพื้นฐาน (base rates)ซึ่งก็คืออัตราส่วนของนักเรียนในแต่ละสาขา 9 สาขา (ซึ่งมีการให้ผู้ร่วมการทดลองกลุ่มที่ 3 ประเมิน)และการประเมินที่เป็นไปตามความน่าจะเป็นจะต้องกล่าวว่า ทอมมีโอกาสที่จะเข้ารับการศึกษาในสาขามนุษยศาสตร์มากกว่าบรรณารักษศาสตร์เพราะว่า มีนักศึกษาในสาขามนุษยศาสตร์มากกว่า และข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของทอมที่ให้เป็นเรื่องคลุมเครือและไม่น่าเชื่อถือแต่ผลปรากฏว่า คะแนนที่ให้เกี่ยวกับความน่าจะเป็น (ประเมินโดยกลุ่มหนึ่ง) เหมือนกับคะแนนที่ให้เกี่ยวกับความคล้ายคลึง (ประเมินโดยอีกกลุ่มหนึ่ง) แทบเป็นหนึ่งต่อหนึ่งซึ่งเหมือนกับในอีกการทดลองหนึ่งที่ให้ผู้ร่วมการทดลองประเมินความน่าจะเป็นของหญิงสมมุติว่า จะเข้าทำอาชีพแบบไหนผลเช่นนี้บอกเป็นนัยว่า แทนที่เราจะประเมินความน่าจะเป็นอาศัยอัตราพื้นฐาน เราจะใช้คุณลักษณะเกี่ยวกับความคล้ายคลึงกันที่เข้าถึงได้ง่ายกว่าแทนที่

แหล่งที่มา

WikiPedia: การทดแทนคุณลักษณะ (จิตวิทยา) //ssrn.com/abstract=1401432 http://www.mit.edu/~lyoung/Site/Publications_files... http://web.princeton.edu/sites/opplab/papers/Opp%2... http://home.uchicago.edu/~xdai/ACR07.pdf http://lawreview.vermontlaw.edu/files/2012/02/12-S... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16209802 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/18298269 http://web.archive.org/web/20090420020926/http://w... //doi.org/10.1017%2FS0140525X05000099 //doi.org/10.1037%2F0033-2909.134.2.207